วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน

  ประเทส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะการติดต่อสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจทั้งด้านการค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว และการส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศ การติดต่อกันดังกล่าวจะทำให้มีเงินตราไหลเข้าและไหลออกนอกประเทศ ทำให้เกิดการขาดดุล-เกินดุลการค้า ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบของมูลค่าส่งออกและมูลค่านำเข้าสินค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเป็นการเปรียบเทียบมูลค่าส่งออก-นำเข้า หรือดุลการค้าและดุลบริการ ซึ่งเป็นรายได้จากการท่องเที่ยว การประกันภัย และการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อรวมทั้งสองส่วนกับเงินโอน เงินบริจาค เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ก็จะเป็นรายการของดุลการชำระเงิน ซึ่งหมายถึง รายรับจากต่างประเทศทั้งหมด โดยทั่วไปประเทศกำลังพัฒนามักขาดดุลการค้าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นปฐมพวกแร่ธาตุและผลผลิตการเกษตร และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ มีมูลค่าต่ำกว่าสินค้านำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้วที่มักจะเป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศอาจมีดุลการชำระเงินเกินดุล เพราะมีการลงทุนหรือมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามามาก สำหรับประเทศไทยตกอยู่ในภาวะขาดดุลการค้า ดุลการชำระเงินมานาน จนกระทั่งหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยก็เริ่มเกินดุลการค้าและดุลการชำระเงิน แนวทางที่นิยมใช้ในการแก้ไขการขาดดุลการค้าและการขาดดุลชำระเงิน ได้แก่ การลดค่าเงิน การตั้งกำแพงภาษี การกีดกันการค้ารูปแบบต่าง ๆ การส่งเสริมการส่งออก และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ   

อุปสงค์ อุปทาน และราคาดุลยภาพ

       อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
          เส้นอุปสงค์สามารถสร้างได้จากข้อมูลในตารางอุปสงค์ ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคา และปริมาณซื้อ โดยปกติเส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา เส้นอุปสงค์สามารถเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น โดยอยู่ทางขวามือหรือทางซ้ายมือของเส้นเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้จำนวนซื้อมากขึ้นหรือน้อยลง
          อุปทาน  คือ  จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย  ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
          ราคาดุลยภาพ  เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
          โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนด    ราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภคเดือดร้อน

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐศาสตร์


ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

สาระสำคัญ      เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสนองความ
                         ต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับการดำรงชีพให้ดีขึ้น
ผลการเรียนรู้    มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย  ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  และระบบเศรษฐกิจ
พฤติกรรมชี้วัด  1.  อธิบายความหมายของวิชาเศรษฐศาสาตร์และปัจจัยสำคัยในการตัดสินใจได้
                           2.  บอกหน่วยเศรษฐกิจและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้
                           3.  บอกระบบเศรษฐกิจได้

1.  ควมหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
                                วิชาเศรษฐศาสตร์  เป็นวิชาทีศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์  เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด  มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย  และจำหน่ายจ่ายแจกไปยังบุคคลกลุ่มต่างๆ  ของสังคมหนึ่งๆ  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2. ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ

                                                                                ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากร  ความต้องการ  ความขาดแคลน  การเลือก  และค่าเสียโอกาส

 







1. ทรัพยากรมีจำกัด
                                ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ทรัพยากรการผลิต  (productive resources)  หรือ  ปัจจัยการผลิต(factors of production)  หมายถึง  สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสอนงความต้องการของมนุษย์ ได้แก่
                                ที่ดิน (land)  คือ  พื้นดิน  รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่บนผิวดิน  ปะปนในดิน  และในอากาศเหนือพื้นดินนั้น
                                ทุน (capital)   ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์  หมายถึง  สิ่งที่สามารถใช้ได้คงทน  และผลิตสินค้าและบริการได้โดยตรง เช่น  โรงงาน  เครื่องจักร  อุปกรณ์การผลิตซึ่งแตกต่างจากความหมายทางธุรกิจ หมายถึง เงินสด  หรือเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน
                                การประกอบการ (entrepreneurship)  คือ  การรวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆ  มาผลิตสินค้าและบริการ  ผู้ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้ประกอบการ (entrepreneur)

                2. ความต้องการมีไม่จำกัด
                                มนุษย์โดยทั้วไปมีความต้องการ  หรือความอยากได้อยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีขอบเขต เช่น เมื่อมีปัจจัยสี่คือ เครื่องนุ่งห่ม  อาหาร  ยารักษาโรค  และที่อยู่อาศัยเพียงพอแล้วก็อยากได้สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย สิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ  สิ่งที่จะเชิดหน้าชูตาและยกระดับฐานะทางสังคมของตนและอื่นๆ  ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด  กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการตัดสินใจในการผลิต การกระจายและการแลกเปลี่ยนเกิดจากความพยายามที่จะสนองความต้องการอันไม่จำกัดของมนุษย์
                                ความต้องการในทางเศรษฐศาสตร์ 
(economic wants)  หมายถึง  ความปรารถนาที่จะได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่แล้ว  แต่ไม่เพียงพอหรือไม่มีอยู่เลย  และเราต้องมีเงินพอที่จะซื้อหามาได้ ความต้องการของมนุษย์เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค  ส่วนความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์ (economic needs)  หมายถึง  ความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ต้องมีไว้เพื่อสนองวามต้องการให้สามารถดำรงชีพได้ตามอัตภาพ ได้แก่ ปัจจัยสี่  คือ  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  และยารักษาโรค  ส่วนความต้องการเครื่องสำอาง  เสื่อผ้าแฟชั่นราคาแพง  เครื่องประดับมีค่าเหล่านี้เป็นความต้องการทางเศรษฐศาสตร์มิใช่ความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์
                                ปั้จจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี่  อาจมีสิ่งจำเป็นสำหรับการครองชีพเพิ่มขึ้น  เช่น วิทยุ  โทรทัศน์  รถยนต์  เครื่องใช้ไฟฟ้า  เป็นต้น  ซึ่งแต่เดิมจัดเป็นของฟุ่มเฟือยสำหรับผู้มีรายได้สูงเท่านั้น
                                ความต้องการในทางเศรษฐศาสตร์  จำเป็นต้องสัมผัสได้และสามารถวัดหรือคำนวณมูลค่าเป็นเงินได้  แต่มีความต้องการหลายประเภทที่ไม่สามารถสัมผัสและคำนวณมูลค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น ความรักจากพ่อแม่  การยอมรับจากเพื่อนร่วมชั้น  ความเคารพนับถือจากเพื่อนบ้าน  ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงไม่จัดเป็นความต้องการทางเศรษฐศาสตร์
                                เราจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องยากจะจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างความต้องการและความจำเป็นในทางเศรษฐศาสร์ ตัวอย่างเช่น การมีบ้านหลังใหญ่ จำนวนครอบครัวที่มีสมาชิกจำนวนมากก็จะถือได้ว่าเป็นความจำเป็นต้องมีบ้านหลังใหย่ แต่สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกเพียงไม่กี่คนเท่านั้น  การมีบ้านหลั้งใหญ่นับเป็นความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นต้น
                3. ความขาดแคลน
                                หากเรามีทรัพยากรเหล่านี้อยู่มากมายหรือมีไม่จำกัด  เราก็สามารถผลิตสินค้าและบริการสนองตอบความต้องการของคนในประเทศได้อย่างเพียงพอ  ปัญหาความขาดแคลน (scarcity)  ในประเทศต่างๆ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น  แต่ในความเป็นจริงนั้น  ความขาดแคลนและปัญหาเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ทั่วโลก  เนื่องจากทรัพยากรการผลิตของประเทศต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัด  แต่ความต้องการของคนเรามีมากมายไม่จำกัดนั่นเอง
                                เนื่องจากทรัพยากรทุกชนิดนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง  จึงเป็นทางเลือก (choice) ประกอบกับการขาดสมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการของมนุษย์  จึงต้องมีการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และเป็นที่พึงพอใจของคนส่วนใหญ่  ส่วนทางด้านการบริโภคก็จะต้องตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีประโยชน์  หรือให้ความพอใจแก่ตนเพื่อให้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป
                4.  ค่าเสียโอกาส
                                การเลือกทุกกรณีจะมีต้นทุนการเลือก  เรียกว่า  ค่าเสียโอกาส (opportunity cost)  ซึ่งหมายถึงมูลค่าของทางเลือกที่ดีที่สุดในการใช้รัพยากร  ที่ต้องเสียสละไปเมื่อได้ตัดสินใจเลือกทางเลือกอื่น ตัวอย่างเช่น มีที่ดินอยู่แปลงหนึ่งถ้าให้เขาเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 60,000 บาท  ถ้าปลูกผักจะมีรายได้ปีละ12,000 บาท  และถ้าปลูกพืชไร่จะมีรายได้ปีละ 10,000 บาท ดังนั้น
                                 ถ้าให้เขาเช่า  มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นรายได้จากการปลูกผักปีละ 12,000 บาท (รายได้จากการปลูกผักสูงกว่าการปลูกพืชไร่)
                                 ถ้าปลูกผัก      มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นค่าเช่าปีละ 60,000 บาท  (รายได้จากค่าเช่าสูงกว่ารายได้จากการปลูกผักและปลูกพืชไร่)
                                 ถ้าปลูกพืชไร่   มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นค่าเช่าปีละ 60,000 บาท  (รายได้จากค่าเช่าสูงกว่ารายได้จากการปลูกผัก)
                                ในทางเศรษฐศาสตร์การเลือกจะเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนการได้ใช้ทรัพยากรหนึ่งๆ โดยยอมเสียโอกาสใช้ทรัพยากรอื่นลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า trade – offs
                5. การเลือก
                ความหมายของการผลิต
                การผลิต  (production)  หมายถึง  การนำปัจจัยการผลิตซึ่งมีอยู่จำกัด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ  มาผ่านกระบวนการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการประเภทเศรษฐทรัพย์ (economic goods = เป็นสินค้าที่มีมูลค่าคำนวณเป็นราคาซื้อขาย เพราะมีจำนวนจำกัด ตรงข้ามกับทรัพย์เสรี (free goods) ซึ่งมีปริมาณเกินความต้องการของมนุษย์ จึงไม่จำเป็นต้องคำนวณราคาซื้อขาย)   สำหรับผลิตสนองความต้องการของผู้บริโภค (needs and wants)  เช่น  โรงงานน้ำตาลนำอ้อยไปผ่านกระบวนการผลิต  รวมทั้งการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์  และแรงงานขนย้าย  ได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลทราย เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิต   กระบวนการผลิต   และผลผลิต
 





                ความสามารถของสินค้าและบริการในการบำบัดความต้องการของมนุษย์  ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า  อรรถประโยชน์  หรือ  ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  (utility)  จึงกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า  การผลิตก็คือการสร้างอรรถประโยชน์ (creation of utilities)  จากปัจจัยการผลิตต่างๆ นั่นเอง
                ปัจจัยการผลิต
                ปัจจัยการผลิต (tactors of production)  หรือ ทรัพยากรการผลิต  หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ประกอบกันในการผลิตสินค้าและบริการ  แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  คือ  ที่ดิน  แรงงาน  ทุน  และผู้ประกอบการ
                                1. ที่ดิน      รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ  ซึ่งมนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น เช่น น้ำ  ป่าไม้  แร่ธาตุ  ความหมายของคำว่าที่ดิน ในทางเศรษฐศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้ทั่วไป กล่าวคือ ในการผลิตภาคเกษตรใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ในภาคอุตสาหกรรมใช้ที่ดินเป็นที่ตั้งโรงงานเก็บสินค้า  แต่ที่ดินยังหมายความรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดเหนือดิน  ภายในดิน  และต่ำกว่าระดับพื้นดินด้วย เช่น น้ำ  สัตว์น้ำ  ป่าไม้  สัตว์ป่า  ก๊าซธรรมชาติ  น้ำมันดิบ  แร่ธาตุ  เป็นต้น
                               2. ทุน      รวมถึงเครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์  และสถานที่ที่ใช้ในการผลิต  หมายถึง สิ่งที่มนษย์สร้างขึ้นสำหรับใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ เพื่อการผลิตสินค้าแบะบริการ  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สินค้าทุน (capital goods) ได้แก่  สิ่งก่อสร้าง เช่น โรงงาน  ถนน สะพาน  ทางรถไฟ       เครื่องจักรเครื่องมือ เช่น เครื่องจักรในโรงงาน  เครื่องสูบน้ำ  รถแทรกเตอร์  รถบรรทุก  รถไถนา  สัตว์ที่ใช้แรงงาน อุปกรณ์ต่างๆ      วัตถุดิบ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช  ปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง  น้ำมันเชื้อเพลิง  เหล็กเส้น  ไม้แปรรูป  ยางแผ่น  เม็ดพลาสติก  ผัก  ผลไม้  ที่จะนำมาประกอบหรือแปรรูป
                                สินค้าทุนเหล่านี้ถือว่าเป็น  ทุนที่แท้จริง (real capital)                        
                                ทุนเป็นตัวเงิน หรือ เงินทุน (money capital)  ในแง่ของนักเศรษฐศาสตร์พิจารณาว่า  เป็นเพียงสือกลางใช้แลกเปลี่ยน  แต่ สินค้าทุน  จะเป็นตัวบ่งชี้กำลังการผลิตที่เป็นจริงได้ดีกว่าเงินทุน  ดังนั้นเงินทุนจึงไม่นับเป็นทุนในทางเศรษฐศาสตร์
                                ดอกเบี้ย  (interest)    เป็นผลตอบแทนของเจ้าของทุน  เนื่องจากสินค้าทุนมีความยุ่งยากในการคำนวณผลตอบแทน  จึงมักตีราคาเป็นตัวเงินก่อน  และคำนวณหาผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นเดียวกับเงินทุน
                                3.  แรงงาน     รวมถึงกำลังกายและกำลังความคิดของคนที่ใช้ในการผลิต  หมายถึง  ความสามารถทั้งกำลังกายและกำลังความคิด  ตลอดจนความรู้ความชำนาญของมนุษย์  ที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าและบริการ  แต่ไม่รวมถึงความสามารถในการประกอบการซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตอีกประเภทหนึ่งที่จะกล่าวในลำดับต่อไป
                                ผู้ใช้แรงงานหรือเจ้าของแรงงาน  ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าแรงงาน  จะได้รับ  ค่าจ้าง (wages)  เป็นผลตอบแทน
                                แรงงานแบ่งออกเป็น  2  กลุ่มใหญ่ๆ  คือ
                                1)  แรงงานที่มีทักษะ (skilled labor)  เป็นแรงงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่าดี  การปฏิบัติงานใช้กำลังความคิดมากกกว่าใช้แรงกาย เช่น แพทย์  สถาปนิก  วิศวกร เป็นต้น
                                2) แรงงานที่ไม่มีทักษะ (unskilled labor)  เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน  มักทำงานโดยอาศัยกำลังกาย เช่น คนงานรับจ้างทั่วไป  คนงานขนข้าวสารในโรงสี เป็นต้น
                                4. ผู้ประกอบการ    คือ ผู้ที่นำที่ดิน  ทุน  แรงงาน  มาร่วมดำเนินการผลิต     ผู้ประกอบการ (entrepreneur)  หมายถึง  ผู้ที่นำที่ดิน  แรงงาน  และทุนมาดำเนินการผลิตสินค้า  และบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค  ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการผลิต  สามารถคาคคะเนแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคและกำลังการผลิตในอนาคตได้  นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า  จะผลิตอะไร ปริมาณเท่าใด  ใช้เทคนิคการผลิตแบบใด  ผลิตแล้วจำหน่ายแก่ใคร  ราคาต่อหน่วยเป็นเท่าใด  จึงจะได้ผลตอบแทนสูงสุด  ผู้ประกอบการจะต้องยอมรับการเสี่ยงในธุรกิจของตน  ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการได้รับอยู่ในรูปของ กำไร (profit)
                                ผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญมาในการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ    ประเทศต่างๆ  ทีมีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง  ส่วนใหญ่มาจากการริเริ่มของผู้ประกอบการา  ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม  (Small and Medium scales Enterpreneurs SMEs)
                                คุณธรรมของผู้ผลิต
                                ผู้ผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค  โดยปกติมีเป้าหมายที่จะแสวงหากำไรสูงสุด  และใช้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด  แต่ในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อผลกระทบด้านสังคม  และวัฒนธรรมร่วมด้วย  นั่นคือคุณธรรมของผู้ผลิต ผู้ผลิตที่ขาดคุณธรรมและหวังแต่ผลประโยชน์ของตน  จะก่อความเสียหายต่อผู้บริโภค  ผู้ผลิตรายอื่น  สังคมส่วนรวมและประเทศชาติ พฤติกรรมการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ  เช่น ละเมิดสิทธิ์โดยการผลิตเทปและซีดีปลอม  การผลิตเสื้อผ้า กระเป๋าเลียนแบบสินค้าต่างประเทศยี่ห้อที่มีชื่อเสียง  ผลิตผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนปลอม  ใช้สีย้อมผ้าผสมอาหาร  ใส่ฟอร์มาลินแช่อาหารสด  ฉีดยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนเก็บพืชผลทำให้มีสารพิษตกค้างในผักผลไม้  ปล่อยน้ำเสียจากโรงงานหรือฟาร์มลงในแม่น้ำลำคลอง  เป็นการสร้างมลภาวะอันเป็นปัญหาของสังคม เป็นต้น  การกระทำเหล่านี้นอกจากผิดศีลธรรมแล้ว ยังขัดต่อระเบียบช้อบังคับตามกฎหมายบ้านเมืองด้วย
                                คุณธรรมทีสำคัญสำหรับผู้ผลิตได้แก่ ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบ
                                ความหมายของการบริโภค และผู้บริโภค
                                การบริโภค  (consumption)  หมายถึง  การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ  เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค  การบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์จึงมิได้หมายถึงเฉพาะการรับประทานอาหารเท่านั้น  แต่ยังรวมไปถึงการใช้สินค้าและบริการสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยวิธีการอื่นๆ ด้วย เช่น การดื่มเครื่องดื่ม  การชมภาพยนตร์  การฟังเพลง  การดมน้ำหอม  การอ่านหนังสือพิมพ์  การใช้ปากกา  การซื้อเสื้อผ้า  การเช่าบ้าน  การรับบริการตรวจรักษา  การโดยสารรถประจำทาง เป็นต้น
                                ผู้บริโภค (consumer)  หมายถึง  ผู้ซื้อสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของตน  จุดมุ่งหมายที่สำคัญของผู้บริโภค คือ ความพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าและบริการที่ซื้อมา
                                คำว่า ผู้บริโภค เป็นคำกลางๆ ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้เรียกผู้บริโภคในลักษณะต่างๆ ได้อีก เช่น คำว่า ผู้ซื้อ  ลูกค้า  ผู้ชม  ผู้อ่าน  ผู้ฟัง  ผู้เช่า  ผู้โดยสาร  เป็นต้น
                                หลักการและวิธีเลือกสินค้าและบริการ
                                ในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ  ควรคำนึงถึงหลักการและวิธีการ ดังนี้
                                ความประหยัด
                                ในการบริโภคสินค้าและบริการ  ควรคำนึงหลักความประหยัด ซึ่งเป็นการบริโภคตามความเหมาะสม 
ไม่เกินความจำเป็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคไม่เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร
                                ประโยชน์
                                ประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า อรรถประโยชน์ (utility)
                                อรรถประโยชน์ (utility) หมายถึง ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งในเวลาหนึ่งๆ  ในการบริโภคสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่า สินค้าหรือบริการที่จะเลือกบริโภคนี้มีประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวอย่างแท้จริงเพียงใด ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาว่าสินค้าหรือบริการนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องบริโภคหรือไม่ หากเป็นสิ่งจำเป็นจึงควรบริโภคสินค้าและบริการบางอย่างเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย มีความจำเป็นหรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของเราน้อย เราก็ไม่จำเป็นต้องบริโภคสินค้าหรือบริการนั้น วิธีพิจารณาอย่างง่ายๆ ก็คือ หากเราไม่ซื้อสินค้าและบริการนั้น จะมีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของเรามากน้อยเพียงใด  หากไม่มีผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อย เราก็ไม่ควรบริโภคสินค้าหรือบริการนั้น
                                คุณภาพและราคา
                                สินค้าและบริการโดยทั่วไปที่มีคุณภาพสูงมักจะมีราคาสูงตามไปด้วย  แม้แต่สินค้าประเภทเดีวกันก็มีคุณภาพแตกต่างกัน เช่น น้ำตาลทราย  ข้าวสาร  เป็นต้น  การประหยัดของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสิน้าและบริการควรคำนึงเรื่องคุณภาพควบคู่ไปด้วย
                                ในการบริโภคสินค้าผู้บริโภคจะต้องวิเคราะห์สิน้าหรือบริการนั้น เป็นสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด เช่น นักเรียนจะซื้อเสื้อสักหนึ่งตัว ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาก่อนว่า เสื้อที่นั้กเรียนจะซื้อ จะสวมใส่ไปงานใด โอกาสใดบ้าง จึงค่อยพิจารณานต่อไปว่า จะซื้อเสื้อที่มีเนื้อผ้าอย่างไร แบบและสีใด ควรจะเลือกเนื้อผ้าที่มีความทนทาน ดูแลรักษาง่าย ต่อไปจึงค่อยพิจารณาราคาของเสื้อ ยี่ห้อต่างๆ ควรพิจารณาราคาตามคุณภาพของเสื้อว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ เสื้อบางยี่ห้อตั้งราคาสูงเกินความเป็นจริง ก็ไม่ควรซื้อ ไม่ควรซื้อสินค้าตามความนิยมโดยไม่ได้พิจารณาราคาและคุณภาพ
                                ปลอดภัย
                                ในยุคที่เทคโนโลยีการผลิตทันสมัยทำให้มีการนำมาใช้ในกรรมวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต หรือทำให้สินค้าคงทนมีสีสันสดุดตา  โดยใช้วัสดุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ฉะนั้นผู้บริโภคจะต้องดูฉลากก่อนการบริโภค โดยคำนึงถึงส่วนผสม และวันหมดอายุ
                6, กฎหมายของการคุ้มครอบผู้บริโภค 
                                 การคุ้มครองผู้บริโภค  หมายถึง การป้องกันดูแลประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย  ความเป็นธรรม  และความประหยัด ในการบริโภคสินค้าและบริการ
                                ความปลอดภัย  หมายถึง เมื่อนำสินค้าและบริการไปใช้จะต้องไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภค  ตัวอย่างสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  เช่น อาหารที่มีสารพิษตกค้าง เช่น ยาฆ่าแมลง สารถนอมอาหร เป็นต้น  เครื่องใช้ไม้สอยที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้  ของเล่นเด็กที่มีลักษณะล่อแหลมต่อการเกิดอันตราย เช่น สีหรือวัสดุที่ไม่เหมาะกับทารก เป็นต้น
                                ความเป็นธรรม   หมายถึง การที่ผู้ผลิตหรือผู้ขาย หรือผู้ประกอบธุรกิจจะต้องไม่หลอกลวงผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ เช่น การปลอมปนคุณภาพ  การติดราคาสินค้าที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  การโฆษณามอมเมาให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและต้องตกอยู่ในฐานะผู้เสียประโยชน์ เป็นต้น
                                ความประหยัด  หมายถึง การส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ  โดยไม่กำหนดราคาสินค้าในลักษณะที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในมูลค่าสูงกว่าราคาที่แท้จริงของสินค้าและบริการนั้นๆ  ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรรู้จักการประหยัด  และมีความระมัดระวังในการซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น
                                การคุ้มครองผู้บริโภคของภาคเอกชนและภาครัฐบาลกระทำได้ดังนี้
                                1. การคุ้มครองผู้บริโภคของภาคเอกชน   การให้การคุ้มครองผู้บริโภคของภาคเอกชน  หมายถึงผู้ประกอบการ และผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไป
                                                1)  ผู้ประกอบการ    ผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภคมักมุ่งแสวงหากำไรสูงสุด  โดยการลดต้นทุนการผลิตให้กับธุรกิจ  แนวคิดของผู้ประกอบการโดยทั่วไปมักไม่เน้นการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคมากนัก  มีบางส่วนที่มีนโยบายคืนกำไรสู่สังคม  เช่น โครงการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจน  โครงการนำบางส่วนของราคาสินค้าที่จำหน่ายได้สมทบทุนเพื่อสาธารณกุศล  การเก็บค่าบริการหรือขายสินค้าราคาต่ำแก่นักเรียน นิสิตนักศึกษา เป็นต้น
                                                2)  ผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไป   ผู้บริโภคได้รวมตัวร่วมมือกันในรูปของสมาคม  มูลนิธิ  ชมรม  กลุ่มไม่น้อยกว่า 50 องค์กร  ทำการรณรงค์เพื่อผู้บริโภคตลอดจนกระจายข่าวข้อมูลต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค  บางกลุ่มศึกษาวิจัยปัญหาของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในสังคมไทย  ผู้บริโภคยังไม่ทราบสิทธิของตนในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในสังคมไทย  ผู้บริโภคยังไม่ทราบสิทธิของตนในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค  เนื่องจากไม่ได้ให้ความสนใจรับรู้ข่าวสารในเรื่องนี้ หรือไม่ทราบว่าจะร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการใด  ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้เข้ามีบทบาทเพิ่มขึ้น
                                2. การคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐบาล   เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนจากการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน  โดยตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น พระราชบัญญัติอาหารและยา  พระราชบัญญัติเครื่องสำอางเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม  ความปลอดภัย  และเป็นแนวทางให้ผู้บริโภคปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามสิทธิและเหน้าที่ที่พึงมี  หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถติดต่อสายด่วนผู้บริโภคกับ อย.1556 หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้หากพบเห็นผู้จำหน่ายเกินราคาหรือใช้มาตรฐานชั่งตวงวัดที่ไม่เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง  ก็สามารถแจ้งได้ที่กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์  โทรศัพท์  0-2547-4771-7
                7. สิทธิของผู้บริโภค
                                พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2541 บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไว้  5  ประการ ดังนี้
                                1. สิทธิที่จะได้รั้บข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ      หมายความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูล การโฆษณา การแสดงฉลากตามความเป็นจริง  และเพียงพอที่จะไม่ทำให้หลงผิดในการซื้อสินค้าและบริการ
                                2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ  หมายความว่า  ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ตามความสมัครใจ  ปราศจากการาบีบบังคับด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น การผูกขาดทางการค้า  การชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม  การส่งสินค้าท่ามิได้สั่งซื้อหรือตกลงใจซื้อมาให้ เป็นต้น
                                3. สิทธิที่จะได้รั้บความปลอดภัยด้านสุขลัษณะและสุขอนามัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ   หมายความว่า สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคได้รับจะต้องมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน  เหมาะสมแก่การใช้หรือบริโภค  ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต  ร่างกาย  หรือทรัพย์สิน  เมื่อใดใช้หรือบริโภคตามคำแนะนำ  หรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าและบริการนั้นๆ แล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา   หมายความว่า  ในกรณีที่การซื้อสินค้าและบริการต้องมีการทำสัญญากัน  ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาที่ไม่เป็นการเอารัดเอา
เปรียบจากผู้ขายหรือผู้ประกอบธุรกิจ
                                5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย    หมายความว่า  เมื่อมีการละเมิดสิทธิ 4  ประการแรก ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะดำเนินการร้องเรียน  และฟ้องร้อง  เพื่อให้มีการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

3.  หน่วยเศรษฐกิจ
                การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต  การจำแนกแจกจ่าย  การแลกเปลี่ยน  และการบริโภคจำเป็นต้องมีผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  เพื่อปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  และสามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด  ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเรียกว่า หน่วยเศรษฐกิจ (economic units)
                หน่วยเศรษฐกิจ  แบ่งตามภาระหน้าที่ได้  3  ฝ่าย คือ
                1. ฝ่ายครัวเรือน (household)   ทำหน้าที่  2  ประการ ได้แก่
                                1) ขายปัจจัยการผลิตของคนแก่ฝ่ายผลิต
                                2)  บริโภคสินค้าและบริการต่างๆ
                  จุดมุ่งหมายสำคัญ  คือ  ต้องการให้สมาชิกทุกคนในครัวเรือนได้รับความพอใจสูงสุด  หรือได้รับสวัสดิการสูงสุด
                2. ฝ่ายผลิต (firm)  หรือ  ฝ่ายธุรกิจ (business)   ทำหน้าที่  2  ประการ ได้แก่
                                1)  ผลิตสินค้าและบริการ
                                2)  กระจายสินค้าและบริการ และกระจายรายได้ให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิต
                จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ต้องการแสวงหากำไรสูงสุดจากการประกอบการ
                3. ฝ่ายรัฐบาล (government)  ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต  ผู้บริโภค  และเจ้าของปัจจัยการผลิต  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสนับสนุน  และควบคุมดูแลฝ่ายอื่นๆ  ในระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ประเทศต้องการ

4. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
                ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ   เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรเศรษฐกิจมีจำกัด  เมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด  ทำให้ทุกสังคมประสบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  ซึ่งจำแนกออกได้เป็น  3  ปัญหา  คือ
                                จะเลือกผลิตอะไร  (What to produce)
                                ผลิตอย่างไร  (How to produce)
                                ผลิตเพื่อใด  (For Whom to produce)
                1.  ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What)   เนื่องจากมีทรัพยากรจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ  ดังนั้นจึงต้องมีการตัดสินใจว่าควรจะเลือกทรัพยากรที่มีอยู่  นำไปผลิตสินค้าและบริการอะไรได้บ้างที่จำเป็น  และเป็นจำนวนเท่าใด  จึงจะสามารถสนองความต้องการและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคม  ตัวอย่างเช่น  ประเทศชาติมีทรัพยากรจำกัดก็ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้นไปในการผลิตอาหารเพื่อปากท้องของพลเมืองอย่างทั่วถึง  หรือควรจะผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารให้เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นต้น
                2.  ปัญหาว่าควรผลิตอย่างไร (How)   หลังจากตัดสินใจได้ว่าจะผลิตอะไรเป็นจำนวนสักเท่าใดแล้ว  ปัญหาที่เราจะต้องตัดสินใจขั้นต่อไปก็คือ  เราจะใช้เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการวิธีการใด  และจะใช้ปัจจัยการผลิตมากน้อยในสัดส่วนเท่าใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด  หรือเสียต้นทุนต่ำที่สุด  เนื่องจากผู้ผลิตมีเทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าได้หลายวิธีที่สามารถให้ผลผลิตเท่าเทียมกัน  จึงต้องเลือกใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น เกษตรกรต้องการปลูกข้าวให้ได้ข้าวเปลือก 1,000
เกวียน  อาจเลือกใช้ที่นาจำนวนมากโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การเกษตรจำนวนน้อย  หรืออาจเลือกใช้ที่นาจำนวนน้อยโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรจำนวนมาก  ไม่ว่าเราใช้การผลิตวิธีใดก็สามารถได้ข้าวเปลือก 1,000 เกวียนเท่ากัน  เป็นต้น
                3.  ปัญหาวาจะผลิตเพื่อใคร (For Whom)   ปัญหาว่าจะผลิตสินค้าและบริการเพื่อใคร  คำตอบก็คือผลิตเพื่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค  หลังจากผลิตสินค้าและบริการได้แล้วก็จะมีการจำหน่ายจ่ายแจกไปยงผู้บริโภค  เงินที่ผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อเป็นเจ้าของสินค้าและบริการจะตกไปอยู่กับใคร  จำนวนเท่าใด  เป็นการศึกษาถึงการผลิต  การบริโภค  และการแบ่งสรรทรรัพยากรการผลิตโดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน  การที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะได้สินค้าและบริการมากินมาใช้มากน้อยแค่ไหน  หรือรัฐบาลของบางประเทศอาจเป็นผู้กำหนด  ตามนโยบายของรัฐบาลว่าจะจัดสรรให้แก่กลุ่มบุคคลใด  ด้วยวิธีการอย่าง
                การตัดสินใจว่า  เราควรจะผลิตอะไร  ผลิตอย่างไร  และผลิตเพื่อใครดังกล่าวนี้  เป็นเรื่องของการจัดสรรทรพัยากรการผลิตที่มีอยู่จำกัด  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด  ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและอำนวยประโยชน์สูงสุดต่อสังคม  เศรษฐกิจ  ส่วนการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไป  แล้วแต่ระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ
เศรษฐกิจภาครัฐ
                ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่เน้นทางด้านทุนนิยม  รัฐบาลมีหน้าที่คอยดูแลความปลอดภัยความยุติธรรม เสรีภาพ  สวัสดิการ  บริการสาธารณะ  ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมือง  กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาลก็ทำนองเดียวกับภาคเอกชน  รัฐบาลจำเป็นต้องแสวงหารายได้ให้เพียงพอที่จะนำไปใช้จ่ายบริหารประเทศให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยส่วนรวม
การศึกษาเศรษฐกิจภาครัฐบาลนั้นอาจแตกต่างจากการศึกษาเศรษฐกิจภาคเอกชนไปบ้างในแง่ของวิธีการ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแสวงหารายได้  และการใช้จ่ายของภาครัฐบาลมุ่งใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่  โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหากำไร  ซึ่งในบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐกิจภาครัฐบาลต่อไป
ความหมายและวัตถุประสงค์ของเศรษฐกิจภาครัฐ
                เศรษฐกิจภาครัฐ (public economy)  เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐทางด้านรายได้  หนี้สาธารณะ  และรายจ่ายของรัฐนโยบายที่รัฐกำหนดระดับและโครงสร้างของรายได้ ผลกระทบจากการจัดเก็บรายได้  และการใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐ  และผลของการใช้จ่ายที่มีต่อเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม
                วัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ  หมายความรวมถึงการมีงานทำและการมีรายได้  การรรักษาเสถียรภาพของระดั้บราคา การรักษาเสถียรภาพของดุลการชำระเงิน การผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง เป็นต้น
ความสำคัญของเศรษฐกิจภาครัฐ
                การจัดเก็บรายได้  การก่อหนี้  หรือการใช้จ่ายเงินจำนวนมากจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน  ย่อมก่อผลกระทบต่อการผลิต  การบริโภค  และการจ้างงานอย่างมาก  โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาด้วยแล้ว เศรษฐกิจภาครัฐยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เช่น  งานสาธารณูปโภครัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
                การที่เศรษฐกิจภาครัฐมีความสำคัญมากขึ้นเช่นนี้  เราพอสรุปได้ว่ามาจากสาเหตุสำคัญ    ประการ คือ
                1. รัฐบาลของประเทศต่างๆ  มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นไม่เพียงแต่ในด้านการบริหารงานของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบสุข  และรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมเท่านั้น  แต่รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลายประเภทซึ่งเอกชนดำเนินการอยู่ เช่น การค้าขาย  การอุตสาหกรรม  การมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นนี้  ทำให้รัฐบาลต้องการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย  เช่น  การเก็บภาษีอากรการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจภาครัฐบาลจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผูกพันอยู่กับงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล
                2. การเก็บภาษีอากร  การใช้จ่าย  และการกู้เงินของรัฐบาลมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการผลิต  การบริโภค  การแลกเปลี่ยน  และการกระจายรายได้  ซึ่งเรียกว่า การคลังรัฐบาล
                การคลังรัฐบาล (public finance)  หมายถึง  การใช้จ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล  วิธีการแสวงหารายได้และการบริหารรายได้ของรัฐบาล  การก่อหนี้สาธารณะ (หนี้ของภาครัฐ ซึ่งเกิดจาการยืมโดยตรงของรัฐบาล หรือการกู้ยืมของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน  โดยประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ)  ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล  สิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น ได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นแผนการเกี่ยวกับการหารายได้ การกู้ยืม และการใช้จ่ายตามโครงการต่างๆ  ของรัฐบาลในแต่ละปีรัฐบาลจะต้องทำงบประมาณประจำปี  เพื่อแสดงให้ประชาชนทราบว่าในปีต่อไปรัฐบาลมีโครงการจะทำอะไรบ้าง  แต่ละโครงการต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใด  และรัฐบาลจะหารายได้จากทางใดมาใช้จ่ายตามโครงการนั้นๆ
การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
                1. ความหมายของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
                                การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการกำหนดแผนงานล่วงหน้าในการวางโครงการ  แผนงานวิธีปฏิบัติ และการจัดหาทรัพยากรหรือเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนดแบ่งเป็น  3  ระดับ คือ
                                1. การวางแผนระดับชาติ    เป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจรวมของประเทศโดยอาจแบ่งเป็นแผนระยะยาวหรือแผนประจำปี  และมีการกำหนดเป้าหมายต่างๆ ไว้  เช่น  อัตราเพิ่มของรายได้ประชาชาติ เป็นต้น
                                2. การวางแผนระดับภาคเศรษฐกิจ   เป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามภาคเศรษฐกิจ เช่น แผนพัฒนาอุตสาหกรรม  แผนพัฒนาเกษตรกรรม   แผนพัฒนาการค้าต่างประเทศ เป็นต้น
                                3.  การวางแผนระดับโครงการ   เป็นการวางแผนเป็นรายโครงการ  มีรายละเอียดมากกว่าแผนระดับชาติและแผนระดับภาคเศรษฐกิจ  โดยกำหนดแผนการดำเนินงาน  วิธีการดำเนินงาน  และกำหนดหน่วยปฏิบัติไว้เป็นระเบียบแบบแผน

5. ระบบเศรษฐกิจ
                ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่รวมตัวกันทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้รูปแบบการปกครอง  จารีตประเพณี  สังคม  และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ  เพื่อกำหนดว่าจะผลิตอะไร  จำนวนมากน้อยเท่าใด  ใช้วิธีการผลิตอย่างไร  และผลิตเพื่อขายให้ใคร
                ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สำคัญ  มี  3  รูปแบบ  คือ
                1.   ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)  
                2.  ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ  ซึ่งแยกเป็น  แบบสังคมนิยมเสรี (Socialism)  และแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
                3.   ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

                ระบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม    หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เอกชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ  มีเสรีภาพในการเลือกที่จะประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ไม่ว่าในเรื่องการกำหนดนโยบายในการผลิต  ว่าผลิตอะไร  ผลิตอย่างไร  และผลิตเพื่อใคร  ระบบนี้จะมีการแข่งขันระหว่างเอกชนอย่างเสรี  หน่วยงานของรัฐจะเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
                ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ     เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐจะเป็นผู้วางแผนการผลิตจากส่วนกลาง  มีการจำกัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล  และการทำงานของกลไกราคา  แต่เน้นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมแก่ประชาชน  ระบบนี้มี  2  รูปแบบ คือ
                ระบบสังคมนิยม    คือ ระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้าไปเป็นผู้ดำเนินการผลิตโดยเน้นในด้านสวัสดิการของประชาชนในประเทศเป็นหลัก  รัฐบาลเป็นผู้กำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและกิจการขนาดใหญ่ที่สำคัญ เช่น  กิจการสาธารณูปโภค 
เอกชนไม่มีเสรีภาพในการตัดสินใจเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ยังมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว  และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดเล็ก  ประชาชนทั่วไปยังมีเสรีภาพอยู่บ้าง
                ระบบคอมมิวนิสต์    เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิด   โดยรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการในการตัดสินใจทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  โดยรัฐบาลจะกำหนดว่า  จะให้ประชาชนในประเทศผลิตสินค้าและบริการอะไร  ผลิตอย่างไร  และเพื่อส่งให้ใครบริโภค  ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการถือครองทรัพย์สิน  ไม่มีเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพ  หรือการเลือกซื้อสินค้าและบริการมาบริโภค
                ระบบเศรษฐกิจแบบผสม     คือ ระบบเศรษฐกิจที่นำลักษณะสำคัญของระบบทุนนิยมและสังคมนิมยมมารวมไว้ด้วยกัน กล่าวคือ  มีทั้งส่วนที่ปล่อยให้เอกชนตัดสินใจดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง  และส่วนที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมและวางแผนทางเศรษฐกิจ
               
6.  กลไกราคา
                ราคาสินค้า  คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการทำการผลิตได้และนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เช่น  นาย ก. ผลิตปากกาออกขายให้แก่นักเรียนในราคาด้ามละ 5 บาท  เป็นต้น   ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ซึ่งการผลิตการบริโภคส่วนใหญ่เป็นเรื่องของภาคเอกชน  โดยผ่านกลไกของราคา นั้น ราคาสินค้าและบริการจะทำหน้าที่ 3  ประการ คือ
                กำหนดมูลค่าของสินค้า   ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ใช้เงินเป็นสื่อกลาง  ราคาจะทำหน้าที่กำหนดมูลค่า  เพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าในมูลค่าที่คุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เขาจะต้องเสียไป  ราคาสินค้าบางแห่งก็กำหนดไว้แน่นอนตายตัว  แต่บางแห่งก็ตั้งไว้เผื่อต่อ  เพื่อให้ผู้ซื้อต่อรองราคาได้
                กำหนดปริมาณสินค้า  ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันนั้นถ้าสินค้ามีราคาถูก  ผู้ซื้อจะซื้อปริมาณมากขึ้นส่วนผู้ขายจะเสนอขายในปริมาณน้อยลง  แต่ถ้าสินค้ามีราคาแพงผู้ซื้อจะซื้อปริมาณน้อยลงส่วนผู้ขายจะขายในปริมาณมากขึ้น  ราคาจึงเป็นตัวกำหนดปริมาณสินค้าที่จะซื้อขายกัน
                กำหนดปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการ   ในระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเอกชนนั้น  จะมีปัญหาว่าผู้ผลิตควรจะผลิตในปริมาณสักเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้เขาได้กำไรสูงสุดตามที่ต้องการ  โดยสังเกตความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ของสินค้าที่เราทำการผลิตในระดับราคาต่างๆ กันเพื่อหา  ดุลยภาพ  ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะทำการซื้อขายกันในปริมาณและราคาที่ตรงกัน  ปริมาณที่มีการซื้อขาย    จุดดุลยภาพ เรียกว่า ปริมาณดุลยภาพ  และผู้ซื้อมีความต้องการซื้อ  ส่วนราคาที่ดุลยภาพ เรียกว่า ราคาดุลยภาพ  อันเป็นราคาที่ผู้ผลิตควรพิจารณาในการตั้งราคาขาย
                กลไกราคา (price mechanism)  หมายถึง  ตัวกำหนดการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจทีมีปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคา คือ อุปสงค์ (demand)  และอุปทาน (supply)
                อุปสงค์ (Demand)   คือ ปริมาณความต้องการซิ้อสินค้าและบริการของผู้ซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง    ระดับราคาต่างๆ กัน ความต้องการซื้อจะแตกต่างจากความต้องการทั่วไป (want)  แต่จะต้องรวมอำนาจซื้อ (purchasing power)  คือ  เต็มใจและมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายซื้อสินค้านั้นด้วย  อย่างไรก็ตามปริมาณความต้องการซื้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยกำหนดอุปสงค์ตัวอื่นๆ เปลี่ยนแปลงด้วย เช่น รายได้ของผู้ซื้อ  รสนิยม  ราคาสินค้าชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น
                อุปทาน (supply)  คือ ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง    ระดับราคาต่างๆ กันโดยผู้ขายเต็มใจจะขาย  กล่าวคือ ถ้าราคาต่ำปริมาณที่เสนอขายก็จะลดต่ำลงด้วย  และใน่ทางตรงกันข้าม  หากระดับราคาสูงขึ้นก็จะมีปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นไปตาม  กฎของอุปทาน (Law of Supply)   ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต  ราคาของปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ  การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล  การคาคคะเนราคาสินค้าและบริการของผู้ขาย
                ตลาด    ตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์  จะกว้างกว่าความหมายทั่วๆ ไปที่เป็นสถานที่ที่มีผู้ขายจำนวนมากนำสินค้ามาวางขาย  แต่ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์จะเกิดขึ้นทันที่ที่มีการตกลงซื่อขายกัน  ต่อรองราคาหรือมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ  โดยไม่จำเป็นต้องมีสินค้าและบริการปรากฏอยู่    สถานที่นั้น
                องค์ประกอบของตลาดจะประกอบด้วย ผู้ซื้อ  ผู้ขาย สินค้า และ  ราคา   ซึ่งอาจจะมีพ่อค้าคนกลางร่วมด้วย  ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารได้ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใกล้ชิดกันมากขึ้น  โดยอาศัยคนกลางน้อยลง  นอกจากนี้ความสะดวกสบายรวดเร็วของสื่อที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าก็ทำได้คล่องตัวขึ้น เช่น ระบบเครดิต เป็นต้น
                ระบบตลาดขึ้นอยู่กับกลไกราคา  ซึ่งราคาตลาดถุกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ (Interaction)  ระหว่างผู้ซื้อจำนวนมาก  ผู้ขายจำนวนมาก    ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ช่วงต้นฤดูทุเรียนหมอนทอง  ราคากิโลกรัมละ40  บาท  ผู้ซื้อต้องการซื้อ 200 ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์  ในขณ๊ะที่ผู้ขายต้องการขาย  200  ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์ เช่นกัน  ไม่มีของเหลือของขาด  ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างพอใจในภาวการณ์ที่เป็นอยู่  ราคาตลาดดังกล่าวเป็นราคาดุลยภาพ  และราคาตลาดนี้จะเปลียนแปลงไปถ้าอุปสงค์หรืออุปทานเปลี่ยน หรือเปลี่ยนทั้งอุปสงค์และอุปทาน